วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างเครื่องฉาย
1. เครื่องฉายข้ามศีรษะ  (Overhead   Projector)
     เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะหรือเครื่องฉายภาพโปร่งใส เป็นเครื่องฉายระบบฉายอ้อม (Indirect Projector)   ปัจจุบันมี   3   ชนิด   คือ
      1. ชนิดแสงส่องตรง หลอดฉายที่อยู่ใต้แท่นรองรับวัสดุฉาย จะส่องผ่านเลนส์เกลี่ยแสง ( Fresnel   Lens )
ตรงไปยัง เลนส์ฉาย (Objective Lens) ซึ่งอยู่ส่วนหัวเครื่องฉายนั้น
      2. ชนิดแสงสะท้อน หลอดฉายที่อยู่ใต้แท่นจะส่องแสงไปยังกระจกเงาที่เอียง 45 องศา แล้วสะท้อนแสง
ผ่านวัสดุฉายไปยังเลนส์ฉาย (Objective Lens) ซึ่งอยู่ส่วนหัวเครื่องฉายนั้น
     3. ชนิดที่มีแสงสะท้อนแสงติดบนแท่น หลอดฉายจะติดอยู่กับหัวเครื่องฉาย จึงไม่มีส่วนตัวเครื่อง (Lamp House)   ไม่มีพัดลมเป่าหลอด   เครื่องฉายชนิดนี้มีน้ำหนักเบา แต่หลอดจะขาดง่าย เพราะไม่มีระบบระบายความร้อน
ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
                 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะมีส่วนประกอบที่สำคัญ  2   ส่วน   ดังนี้
1. ส่วนประกอบภายนอก
                       1.1  ตัวเครื่องฉาย  (Body)  มีลักษณะเป็นกล่องมักทำด้วยโลหะ ด้านบนเป็นแท่นกระจกสำหรับวางวัสดุฉาย มุมด้านขวามือมีเสาสำหรับติดตั้งหัวฉาย ด้านข้างมีแกนยึดแผ่นโปร่งใสแบบม้วน ด้านหลังมีสายไฟและสวิตซ์ควบคุมการทำงาน
                       1.2  แขนเครื่องฉายและหัวฉาย จะประกอบต่อกับเสาเครื่องฉาย สามารถปรับเลื่อนขึ้น-ลง ตามแนวดิ่งได้
                       1.3  อุปกรณ์การฉายพิเศษ ใช้กับเทคนิคการนำเสนอแผ่นโปร่งใสแบบเคลื่อนไหว (Polarizing Transparency) อุปกรณ์นี้เรียกว่า จานหมุน หรือ สกินเนอร์ หรือ โพราไรซ์ฟิลเตอร์
2. ส่วนประกอบภายใน
                       2.1   หลอดฉาย   (Projection Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสง
                       2.2  แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) ทำหน้าที่หักเหและสะท้อนแสงที่ออกทางด้านหลังของหลอดฉายทำให้แสงมีความเข้มมากขึ้น
                       2.3  เลนส์เกลี่ยแสง (Fresnel Lamp) ทำหน้าที่เกลี่ยแสงที่มีจากหลอดฉายส่องผ่านวัสดุฉาย
                            2.4  แท่นวางวัสดุฉาย  (Transparency Table) ใช้วางแผ่นโปร่งใส เพื่อให้ทำหน้าที่ขยายภาพหรือวัสดุฉายให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏบนจอ
                            2.5  เลนส์ฉาย (Objective Lens) เป็นเลนส์นูนที่อยู่ในหัวฉายทำหน้าที่ขยายภาพ หรือวัสดุฉายให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏบนจอ
                            2.6  กระจกเงาระนาบหรือกระจกเอน (Tilt Mirror) ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์ฉายแล้วหักเหลำแสงให้ไปปรากฏบนจอ
                            2.7  พัดลม (Fan or Electric Fan) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับหลอดฉายบางเครื่องมีสวิตซ์ปิด-เปิดโดยเฉพาะ บางเครื่อง มีสวิตซ์อัตโนมัติซึ่งเรียกว่า เทอร์โมสตัท (Themostat)
ขั้นตอนการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
   1. เตรียมแผ่นโปร่งใสที่จะใช้ให้พร้อม เรียงตามลำดับขั้นตอน
   2. ตั้งจอและเครื่องฉายให้ห่างกันประมาณ 1.5-2 เมตร โดยวางเครื่องฉายให้มั่นคงและตำแหน่งของเลนส์ฉายตั้งฉากกับจอ
   3. ทำความสะอาดแท่นวางแผ่นโปร่งใส เลนส์ฉาย ตรวจระบบไฟเครื่องฉายแล้วเสียบปลั๊ก
   4. ทดลองฉาย เปิดสวิตซ์เครื่องฉาย วางปากกาหรือวัสดุทึบแสงอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กปรับโฟกัสจนเกิดความคมชัด
   5. ขณะฉายควรปิดข้อความหรือรูปภาพที่ยังบรรยายไม่ถึงด้วยกระดาษทึบแสงและค่อย ๆ เปิดเมื่ออธิบายถึงเนื้อหานั้น
   6. เมื่อจะเปลี่ยนหลอดฉายควรจะเปิดฉายก่อนทุกครั้ง
   7. เมื่อต้องการชี้ข้อความหรือรูปภาพควรใช้วัสดุทึบแสงขนาดเล็ก ๆ
   8. เมื่อเลิกใช้ให้ปิดหลอดฉายปล่อยให้พัดลมทำงานต่อไปจนเครื่องเย็นลง พัดลมจะหยุดโดยอัตโนมัติ
หลักการเลือกเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
   1. กำลังส่องสว่างของเครื่องสูง สามารถปรับกำลังส่องสว่างและเปลี่ยนหลอดได้สะดวกรวดเร็ว
   2. คุณภาพของภาพที่ปรากฏบนจดชัดเจน ไม่พร่ามัว ขนาดของเลนส์เหมาะกับระยะทางในการฉายหรือเหมาะกับห้องฉาย
   3. สะดวกในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา หาอะไหล่ได้ง่าย ราคาถูก
   4. เครื่องเดินเงียบสม่ำเสมอ ไม่มีเสียงรบกวนจากพัดลม
   5. มีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย
 ข้อควรระวังในการเก็บรักษาเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
   1. ไม่ควรใช้เครื่องฉายติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปิดพักหลอดฉายสลับกันเป็นระยะ ๆ ในขณะอภิปราย
   2. เมื่อจะเคลื่อนย้ายเครื่องฉายต้องปิดหลอดฉายก่อน และรอให้หลอดฉายเย็นก่อนจึงจะเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย
   3. ถ้ามีฝุ่นละอองจับเลนส์หรือกระจกเงาสะท้อนแสง ควรใช้กระดาษเช็ดเลนส์หรือหนังชามัวร์เช็ด
ทำความสะอาดแต่ไม่ควรทำบ่อยนัก
   4. การเปลี่ยนหลอดฉาย ห้าม!! ใช้มือจับกระเปาะหลอดแก้ว (หลอดฉายใหม่) ควรใช้ผ้านุ่ม ๆ สะอาด ๆ พันก่อนแล้วจึงทำการเปลี่ยนและต้องใส่ขั้วให้ถูกด้านด้วย
   5. ไม่ควรใช้สายไฟฟ้าขั้นเสียบของเครื่องฉายถูกน้ำ เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้

2. เครื่องฉายสไลด์  ( Slide Projector )
          เครื่องฉายสไลด์เป็นเครื่องฉายระบบฉายอ้อม (Indirect Projector)   ที่สร้างขึ้นมาสำหรับฉายภาพโปร่งใสขนาดเล็กที่นิยมมากในปัจจุบันเป็นภาพที่ถ่ายด้วยฟิล์ม 35 ม.ม.  นำมาใส่กรอบขนาด 2x2 นิ้ว  ชนิดของเครื่องฉายสไลด์  จำแนกตามลักษณะการทำงานของเครื่องฉายมี  2  ชนิด  คือ
1. เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา  (Manual Slide Projector)  เป็นเครื่องฉายที่ออกแบบมาโดยใช้คนควบคุมการทำงานทุกขั้นตอน
2. เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ  (Automatic Projector)   เป็นเครื่องฉายที่ออกแบบให้ทำงานอัตโนมัติ สามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องบันทึกเสียงแบบสัมพันธ์ภาพและเสียง (Synchronize Type) หรือเครื่องควบคุมการฉาย (Dissolve Control Unit) ได้
ส่วนประกอบของเครื่องฉายสไลด์ ที่สำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วน   คือ
1. ส่วนประกอบภายนอก ได้แก่ ตัวเครื่องฉาย (Body)  มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบนเล็กน้อยโดยทั่วไปทำด้วยโลหะ  บนตัวเครื่องฉายมีส่วนประกอบต่าง ๆ  ดังนี้
                              - ร่องวางถาดใส่สไลด์และช่องเปลี่ยนภาพสไลด์
                              - ปุ่มสวิตซ์เปิด-ปิด
                              - ช่องเลื่อนสายไฟ AC
                              - ช่องใส่เลนส์
                              - ปุ่มปรับความคมชัดของภาพ (มีบางรุ่น)
 2. ส่วนประกอบภายใน ได้แก่ อุปกรณ์ฉายต่าง ๆ เช่น จานสะท้อน หลอดฉาย เลนส์รวมแสง เลนส์ฉาย              
 หลักการใช้เครื่องฉายสไลด์
   1. ต้องศึกษาคู่มือการใช้เครื่องฉายให้เข้าใจ
   2. เตรียมเครื่องฉายบนแท่นวาง
   3. ตรวจสภาพเครื่องฉายให้พร้อมที่จะใช้งานได้
   4. เตรียมห้องฉาย จอ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น
   5. นำรางหรือถาดใส่ในเครื่องให้ถูกต้อง
   6. เสียบปลั๊กไฟ เปิดสวิตซ์พัดลม และสวิตซ์แสง
   7. กดปุ่มเดินหน้า เฟรมที่ 1 ปรับขนาดและความคมชัด
   8. ฉายภาพตามเนื้อหาที่กำหนดไว้พร้อมอธิบายประกอบ
   9. เมื่อจบแล้วให้ปิดสวิตซ์แสงรอให้หลอดฉายเย็นแล้วจึงปิดสวิตซ์พัดลม
   10. เก็บสายไฟ ปรับเลนส์ให้เข้าที่แล้วเก็บเครื่องฉาย
หลักการดูแลเครื่องฉายสไลด์
   1. ใช้ให้ถูกตามที่กล่าวมาแล้ว
   2. ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องฉายขณะหลอดฉายกำลังร้อน
   3. ควรเก็บเครื่องฉายในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำและไม่มีฝุ่นละออง
   4. ในกรณีเครื่องใหม่ต้องศึกษาวิธีใช้จากคู่มือประจำเครื่องให้เข้าใจ
   5. ถ้าเครื่องชำรุดควรส่งให้ช่างผู้ชำนาญซ่อม
   6. อย่าให้เครื่องตกหรือกระทบกระแทกเด็ดขาด
   7. การเปลี่ยนหลอดฉาย ห้ามใช้มือจับหลอด

3.  เครื่องฉายเครื่องฉายฟิล์มสตริป  ( Filmstrip  Projector )
             เครื่องฉายฟิล์มสตริปเป็นเครื่องฉายระบบฉายตรง สามารถฉายได้ทั้งสไลด์และฟิล์มสตริปในเครื่องเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนชุดสำหรับใส่ฟิล์มสตริป (Filmstrip Carrier) เข้าไปแทนก็ใช้ได้ ฟิล์มสตริปเป็นแถบฟิล์ม 35 ม.ม. บันทึกภาพนิ่งเช่นเดียวกับสไลด์ แต่ไม่ตัดฟิล์มออกเป็นภาพ ๆ เมื่อจะฉายก็ใส่ฟิล์มทั้งม้วนเข้าในเครื่อง
แล้วฉายภาพทีละภาพตามลำดับ
ฟิล์มสตริปมี 2 ขนาด คือ
   1. ชนิดกรอบภาพคู่ (Full Frame or Double Frame) ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้
   2. ชนิดกรอบภาพเดี่ยว (Half Frame or Single Frame) ขนาดกรอบภาพเป็นครึ่งหนึ่ง
ของกรอบภาพคู่มือ 18 x 24 ม.ม.  มีจำนวนกรอบภาพ 60 ภาพหรือมากกว่า ฟิล์มสติปมีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก เก็บรักษาง่ายใช้ได้สะดวกกว่าภาพสไลด์ เพราะภาพเรียงเป็นลำดับติดกันอยู่แล้ว สะดวกที่จะใช้ประกอบการสอน แต่มีข้อเสียก็คือ หากภาพใดภาพหนึ่งชำรุดเสียหายจะแก้ไขยาก ต้องผลิตใหม่ทั้งม้วนหรือจัดซื้อใหม่
 วิธีใช้เครื่องฉายฟิล์มสตริป
   1. ศึกษาคู่มือประจำเครื่องให้เข้าใจ
   2. ตั้งเครื่องฉายบนแท่นวางสูงกว่าระดับศีรษะผู้ดูเล็กน้อย และห่างจากจอพอสมควร
   3. บรรจุฟิล์มสตริปโดยกลับหัวลงเช่นเดียวกับการใส่ฟิล์มสไลด์
   4. เลียบปลั๊กเปิดสวิตซ์พัดลมและสวิตซ์แสงตามลำดับ
   5. ปรับความคมชัดของภาพบนจอ
   6. หมุนแกนดึงฟิล์มเพื่อฉายภาพทีละภาพจนจบ
   7. เมื่อฉายภาพจบให้ปิดสวิตซ์แสง และรอจนกระทั่งพัดลมเป่าหลอดฉายให้เย็นแล้ว
4.  เครื่องฉายภาพยนตร์  ( Motion Picture Projector )
           เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องฉายในระบบฉายตรง แต่มีส่วนประกอบอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ได้แก่
เฟืองหนามเตย (Sprocket Wheel) กวัก (Intermittent) ใบพัดตัดแสง (Shutter)
             คำว่า ภาพยนตร์ หมายถึง ภาพที่มีการเคลื่อนไหวได้เหมือนเหตุการณ์จริง แต่ความจริงแล้วภาพดังกล่าวมิได้เคลื่อนไหวจริง มันเป็นภาพที่เกิดจากอนุกรมของภาพที่ค่อย ๆ เปลี่ยนจากภาพนิ่งภาพหนึ่งไปสู่ภาพนิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง
หลักการใช้เครื่องฉายภาพยนตร์                     
    ก่อนฉาย ก่อนใช้เครื่องฉายควรปฏิบัติดังนี้
1. ทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ เช่น เลนส์ ประตูฟิล์ม ฯลฯ
 2. ตรวจสอบระบบไฟ ต่อไฟเข้าเครื่อง ต่อลำโพง
3. การตั้งจอต้องอยู่ในมุมตั้งฉากกับเครื่องฉาย
4. ร้อยฟิล์มเข้าเครื่อง ตามผังการร้อยฟิล์มของเครื่องฉายแต่ละเครื่อง
   ขณะฉาย เมื่อจะเริ่มฉายควรปฏิบัติดังนี้
1. เปิดสวิตซ์มอเตอร์ (Forward)
2. เปิดสวิตซ์ฉาย (Lamp)
3. เปิดสวิตซ์เสียง (Volume) ปรับระดับเสียง (Tone)
           - ถ้าเป็นฟิล์มเงียบ ใช้สวิตซ์ Silent
           - ถ้าเป็นฟิล์มเสียง ใช้สวิตซ์ Sound
4. ปรับความคมชัด
5. ปรับกรอบภาพให้สมบูรณ์
6. ถ้ามีเสียงผิดปกติหรือกลิ่นไหม้ให้หยุดฉายทันที
   เลิกฉาย   เมื่อเลิกฉายควรปฏิบัติดังนี้
1. ลดเสียงให้ต่ำลง
2. ปิดสวิตซ์ฉาย แต่ปล่อยให้ฟิล์มเดินต่อไปจนหมดม้วน
3. กดคลัชต์ให้เฟืองหนามเตยหยุด แล้วดึงหางฟิล์มมาร้อยกับล้อส่งฟิล์ม เพื่อหมุนฟิล์มกลับมาในม้วนเดิม
4. เมื่อพัดลมเป่าหลอดฉายเย็นดีแล้วจึงปิดสวิตซ์พัดลมและเก็บเครื่องได้
การเก็บรักษาเครื่องฉายภาพยนตร์
   1. ตรวจดูน้ำมันหล่อลื่นตามจุดที่ต้องการให้หล่อลื่น อย่าให้แห้ง
   2. ทำความสะอาดทางเดินของฟิล์มและเลนส์อย่าให้สกปรก
   3. ให้พัดลมเป่าหลอดฉายจนกระทั่งเย็นทุกครั้ง
การเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์
   1. เมื่อไม่ใช้ต้องเก็บฟิล์มให้มิดชิด
   2. อย่าใช้มือจับที่ผิวฟิล์ม
   3. อย่าร้อยฟิล์มในเครื่องฉายให้หย่อนหรือตึงเกินไป
   4. ขณะฉายอย่าหยุดฟิล์มที่ประตูฟิล์มนานเกินไป
   5. ควรตรวจเครื่องฉายให้อยู่ในสภาพปกติ ปราศจากฝุ่นโดยเฉพาะประตูฟิล์ม
5. เครื่องฉายทึบแสง (Opaque Projectors)
           เครื่องฉายทึบแสงเป็นเครื่องฉายภาพจากวัสดุฉายทึบแสง เช่น ภาพจากหนังสือ ภาพโฆษณา ดินสอ ปากกา ฯลฯ  เครื่องฉายชนิดนี้ต้องใช้ในห้องมืดมาก ๆ จึงจะได้ภาพคมชัดและไม่เหมาะที่จะฉายติดต่อกันนาน ๆ เพราะหลอดฉายร้อนมากจนอาจทำให้วัสดุฉายกรอบหรือชำรุดได้
การใช้เครื่องฉายฉายทึบแสง
   1. วางเครื่องฉายบนแท่นวางเครื่องที่มั่นคงแล้วเสียบปลั๊กไฟ
   2. วางวัสดุฉายชนิดทึบแสงบนแท่นวางวัสดุฉาย โดยให้ขอบด้านล่างขวาวัสดุฉายอยู่ด้านใกล้จอ
ขนาดของวัสดุที่วางบนแท่นได้ไม่ควรเกิน 10 x 10 นิ้ว
   3. เปิดสวิตซ์ฉายปรับระดับของเครื่องฉายให้พอดีกับจอ
   4. ความคมชัดของภาพโดยหมุนล้อปรับโฟกัสที่อยู่ด้านข้างของเลนส์
   5. ถ้าต้องการให้ภาพเล็กหรือใหญ่ขึ้นจะต้องค่อย ๆ เลื่อนเครื่องฉายเข้าหาหรืออกห่างจอและปรับความคมชัดใหม่
   6. ห้องฉายควรเป็นห้องมืดสนิทและระบายอากาศได้ดี
   7. เมื่อเลิกใช้ให้ปิดสวิตซ์ฉาย เป่าให้พัดลมเป่าหลอดฉายจนเย็น
   8. ห้ามเคลื่อนย้ายหรือทำให้เครื่องฉายกระทบกระเทือนขณะหลอดหลายกำลังร้อน เพราะอาจทำให้หลอดขาดได้ง่าย
การบำรุงรักษาเครื่องฉายภาพทึบแสง
   1. ไม่ควรฉายติดต่อกันนานเกินไป
   2. อย่าให้เครื่องสกปรก โดยเฉพาะเลนส์ฉายและหลอดฉาย
   3. ศึกษาคู่มือให้เข้าใจวิธีใช้และบำรุงรักษาที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น