1. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย
ความหมายของเครื่องฉาย
เครื่องฉาย หมายถึง เครื่องฉายที่มีลักษณะเป็นอุปกรณ์ (Hardware) ที่เป็นสื่อกลางหรือตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหา ข้อมูลจากวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองในเนื้อหาจากวัสดุนั้น ปรากฏขึ้นมาบนจอภาพให้เห็นได้
ความสำคัญของเครื่องฉาย
สื่อการสอนที่เห็นเป็นรูปธรรมได้แก่สื่อที่เป็นวัสดุและอุปกรณ์ สื่อวัสดุที่สามารถถ่ายทอดด้วยตัวเอง ได้แก่ รูปภาพ ของจริง ของจำลอง ฯลฯ และวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยให้เนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อวัสดุนั้นปรากฏออกมาให้มองเห็นหรือได้ยิน เช่น แผ่นโปร่งใส ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ เทปวีดิทัศน์ ฯลฯ แต่หากเป็นสื่อวัสดุที่บรรจุเนื้อหาประเภทภาพและเสียงแล้ว จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ประเภทเครื่องฉายที่ถ่ายทอดเสียงออกทางลำโพง โดยจะช่วยในการขยายขนาดของภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเห็นได้อย่างชัดเจนทั่วทั้งห้อง ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว เพิ่มความน่าสนใจรวมถึงมีความสนุกและตื่นเต้นเร้าใจเพิ่มมากขึ้นด้วย
ส่วนประกอบของเครื่องฉาย
1. หลอดฉาย ( Projectors lamp )
หลอดฉายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3 ชนิด ได้แก่
1) หลอดอินแคนเดสเซนต์ ( Incandescent lamp )
2) หลอดฮาโลเจน ( Halogen lamp )
3) หลอดซีนอนอาร์ค ( Zenon arc lamp )
2. แผ่นสะท้อนแสง ( Reflectors )
แผ่นสะท้อนแสงส่วนมากทำด้วยโลหะฉาบผิวด้วยวัสดุสะท้อนแสง เช่น เงินหรือปรอท ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอดฉายไปรวมกับแสงด้านหน้า ทำให้ความเข้มของแสงเพิ่มขึ้นเกือบเป็น 2 เท่า ตำแหน่งการติดตั้งแผ่นสะท้อนมีหลายลักษณะต่างกัน เช่น ติดตั้งอยู่ภายในหลอด ติดตั้งไว้ภายนอกหลอด หรือติดเป็นครึ่งวงกลมรอบหลอด เป็นต้น
3. วัสดุฉาย ( Projected Material )
วัสดุฉาย คือ วัสดุที่ใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเพื่อขยายเนื้อหาหรือรูปภาพให้ใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส รูปภาพทึบแสง เราสามารถแบ่งชนิดของวัสดุฉายออกเป็น 3 ชนิด คือ
1) วัสดุโปร่งใส ( Transparent Materials ) หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้โดยไม่เกิดการหักเห
หรือสะท้อนภายในวัสดุนั้นเลย เช่น แผ่นโปร่งใส พลาสติก กระจกใส กระดาษแก้ว เป็นต้น
2) วัสดุโปร่งแสง ( Translucent Materials ) หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านไปได้ แต่จะมีการสะท้อนหรือหักเหในวัสดุบ้าง ทำให้ปริมาณของแสงสว่างลดความเข้มลงไปบ้าง เช่น กระจกฝ้า กระดาษทาน้ำมัน กระดาษไข เป็นต้น
3) วัสดุทึบแสง ( Opaque Materials ) หมายถึง วัสดุที่แสงไม่สามารถส่องผ่านได้เลย แสงสว่างที่ตกกระทบจะสะท้อนกลับหมด เช่น กระดาษโรเนียว แผ่นโลหะ แผ่นหนัง หิน ไม้ เสื้อผ้า เป็นต้น
หรือสะท้อนภายในวัสดุนั้นเลย เช่น แผ่นโปร่งใส พลาสติก กระจกใส กระดาษแก้ว เป็นต้น
2) วัสดุโปร่งแสง ( Translucent Materials ) หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านไปได้ แต่จะมีการสะท้อนหรือหักเหในวัสดุบ้าง ทำให้ปริมาณของแสงสว่างลดความเข้มลงไปบ้าง เช่น กระจกฝ้า กระดาษทาน้ำมัน กระดาษไข เป็นต้น
3) วัสดุทึบแสง ( Opaque Materials ) หมายถึง วัสดุที่แสงไม่สามารถส่องผ่านได้เลย แสงสว่างที่ตกกระทบจะสะท้อนกลับหมด เช่น กระดาษโรเนียว แผ่นโลหะ แผ่นหนัง หิน ไม้ เสื้อผ้า เป็นต้น
4. เลนส์ ( Lens )
เลนส์เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่ว ๆ ไป ทำด้วยแก้วหรือพลาสติกใสมีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบกับเลนส์ทำให้ภาพถูกขยาย เลนส์ในเครื่องฉายจะมี 2 ชุด คือ เลนส์ควบแสง (Condenser Lens) และเลนส์ฉาย (Objected Lens)
1) เลนส์ควบแสง ( Condenser Lens ) เป็นเลนส์นูน 1-2 ตัว อยู่ระหว่างหลอดฉายกับวัสดุฉาย ทำหน้าที่เฉลี่ยความเข้มของแสงให้ตกบนวัสดุฉายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ภาพที่ปรากฏบนจอทุกส่วนสว่างเท่า ๆ กัน นอกจากนี้ในชุดของเลนส์ควบแสงจะมีกระจกใสกรองความร้อน ( Heat Filter ) เป็นตัวกรองความร้อนจากหลอดฉายไปยังวัสดุฉายไม่ให้มากเกินไป
2) เลนส์ฉาย ( Objected Lens ) เป็นเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์ควบแสง จะอยู่ระหว่างวัสดุฉายกับจอรับภาพ ทำหน้าที่ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่เต็มจอ เลนส์ฉายสามารถขยายภาพได้ เพราะแสงที่ผ่านเลนส์ฉายหักเหตัดกันที่จุดโฟกัสด้านหน้าของเลนส์แล้วกระจายออกไป ยิ่งเลนส์ฉายมีระยะโฟกัสสั้นแสงก็จะกระจายได้มาก จะได้ภาพใหญ่กว่าเลนส์ที่มีระยะโฟกัสยาว
เลนส์ฉายมีคุณสมบัติพิเศษ 2 อย่างคือ การกลับหัวภาพ (Inversion) กับระยะโฟกัส (Focus Length)
ที่จำกัด กล่าวคือ เลนส์ฉายแต่ละตัวจะทำให้ภาพคมชัดในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น ขนาดของภาพบนจอจะเล็กหรือใหญ่ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะโฟกัสแล้ว ยังขึ้นอยู่กับระยะทางของเลนส์ฉายถึงจอภาพด้วย กล่าวคือ เมื่อระยะทางระหว่างเลนส์ฉายกับจอเพิ่มขึ้นภาพบนจอจะขยายใหญ่ขึ้นด้วย ยกเว้นเลนส์ซูม ซึ่งเป็นเลนส์ที่เปลี่ยนระยะโฟกัสได้ในตัวมันเอง
1) เลนส์ควบแสง ( Condenser Lens ) เป็นเลนส์นูน 1-2 ตัว อยู่ระหว่างหลอดฉายกับวัสดุฉาย ทำหน้าที่เฉลี่ยความเข้มของแสงให้ตกบนวัสดุฉายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ภาพที่ปรากฏบนจอทุกส่วนสว่างเท่า ๆ กัน นอกจากนี้ในชุดของเลนส์ควบแสงจะมีกระจกใสกรองความร้อน ( Heat Filter ) เป็นตัวกรองความร้อนจากหลอดฉายไปยังวัสดุฉายไม่ให้มากเกินไป
2) เลนส์ฉาย ( Objected Lens ) เป็นเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์ควบแสง จะอยู่ระหว่างวัสดุฉายกับจอรับภาพ ทำหน้าที่ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่เต็มจอ เลนส์ฉายสามารถขยายภาพได้ เพราะแสงที่ผ่านเลนส์ฉายหักเหตัดกันที่จุดโฟกัสด้านหน้าของเลนส์แล้วกระจายออกไป ยิ่งเลนส์ฉายมีระยะโฟกัสสั้นแสงก็จะกระจายได้มาก จะได้ภาพใหญ่กว่าเลนส์ที่มีระยะโฟกัสยาว
เลนส์ฉายมีคุณสมบัติพิเศษ 2 อย่างคือ การกลับหัวภาพ (Inversion) กับระยะโฟกัส (Focus Length)
ที่จำกัด กล่าวคือ เลนส์ฉายแต่ละตัวจะทำให้ภาพคมชัดในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น ขนาดของภาพบนจอจะเล็กหรือใหญ่ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะโฟกัสแล้ว ยังขึ้นอยู่กับระยะทางของเลนส์ฉายถึงจอภาพด้วย กล่าวคือ เมื่อระยะทางระหว่างเลนส์ฉายกับจอเพิ่มขึ้นภาพบนจอจะขยายใหญ่ขึ้นด้วย ยกเว้นเลนส์ซูม ซึ่งเป็นเลนส์ที่เปลี่ยนระยะโฟกัสได้ในตัวมันเอง
5. จอ ( Screen )
จอเป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่าง ๆ จำแนกได้ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
1) จอทึบแสง ( Opaque Type ) เป็นจอที่รับภาพจากด้านหน้า จอชนิดนี้จะฉาบผิวหน้าด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงต่าง ๆ กัน คือ
1.1 จอแก้ว (Beaded Screen )
1.2 จอผิวเรียบหรือผิวเกลี้ยง ( Matte Screen )
1.3 จอเงิน ( Silver Screen )
1.4 จอเลนติคูล่า ( Lenticular Screen )
1.5 จอเอ็คต้าไลท์ ( Ektalite Screen )
2) จอโปร่งแสง ( Translucent Screen )
เป็นจอที่ทำจากวัสดุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษชุบไข หรือพลาสติก การฉายภาพจะฉายจากด้านหลังของจอ ผู้ชมจะเห็นภาพจากแสงผ่านจอออกมา ไม่ใช่แสงสะท้อนอย่างจอทึบแสง จึงได้ภาพที่สว่างสดใส สามารถฉายในห้องที่มีแสงสว่างปกติได้ ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "จอฉายกลางวัน" (Day light Screen) จอโปร่งแสงมี 2 ชนิด คือ
2.1 ชนิดฉายสะท้อนกระจกเงา ลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นจอทำด้วยกระจกฝ้า พลาสติก
หรืออาซีเตท เมื่อจะฉายต้องเปิดกล่องด้านข้าง ด้านในมีกระจกเงาระนาบทำมุม 45 องศา ทำหน้าที่สะท้อนภาพจากเครื่องฉายไปปรากฏบนจอ โดยทั่วไปขนาดของจอประมาณ 50 x 50 นิ้ว จึงเหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็ก หรือใช้กับงานนิทรรศการ เป็นต้น
หรืออาซีเตท เมื่อจะฉายต้องเปิดกล่องด้านข้าง ด้านในมีกระจกเงาระนาบทำมุม 45 องศา ทำหน้าที่สะท้อนภาพจากเครื่องฉายไปปรากฏบนจอ โดยทั่วไปขนาดของจอประมาณ 50 x 50 นิ้ว จึงเหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็ก หรือใช้กับงานนิทรรศการ เป็นต้น
2.2 ชนิดฉายภาพผ่านจอโดยตรง จอชนิดนี้มีขนาดใหญ่กว่าชนิดสะท้อนกระจกเงา สามารถติดกับฝาผนังห้องที่เจาะเป็นช่องพอดีกับจอได้ การฉายภาพจากด้านหลังของจอ โดยควบคุมแสงในห้องฉายให้มืด ผู้ชมนั่งชมด้านหน้าโดยไม่จำเป็นต้องควบคุมแสงก็ได้
ระบบการฉาย ( Projection Systems )
ระบบการฉาย หมายถึง การนำเอาแสงจากหลอดฉายส่งไปยังวัสดุที่ต้องการฉาย เพื่อให้เกิดภาพหรือเงาของวัสดุนั้นไปปรากฏบนจอซึ่งเป็นการฉายรับภาพและมีขนาดใหญ่ขึ้น เครื่องฉายต่างๆ สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ระบบ คือ
1) ระบบฉายตรง ( Direct Projection ) เป็นการฉายโดยให้แสงผ่านทะลุวัสดุฉายและเลนส์ฉายไปยังจอภาพในแนวเส้นตรง การใส่วัสดุต้องใส่ไว้หลังเลนส์ฉายในลักษณะตั้งฉากกับพื้นเหมือนกับภาพที่ปรากฏบนจอรับ ภาพ เนื่องจากเลนส์จะกลับภาพภาพที่ฉายออกไปเป็นด้านตรงข้าม ด้วยเหตุนี้จึงต้องใส่วัสดุฉายในลักษณะหัวกลับเสมอ
2) ระบบฉายอ้อม ( Indirect Projection ) เป็นการฉายโดยให้แสงจากหลอดฉายผ่านขึ้นไปยังเลนส์ฉาย โดยมีการหักเหของลำแสงผ่านวัสดุฉายไปยังจอรับภาพ การใส่วัสดุฉายในระบบฉายอ้อมคือ ต้องวางวัสดุฉายในแนวระนาบบนแท่นเครื่องฉาย โดยหันด้านหน้าขึ้นบนและริมล่างเข้าหาจอ
3) ระบบฉายสะท้อน ( Reflected Projection ) เป็นการฉายโดยให้หลอดฉายส่องตรงมายังวัสดุฉายก่อนแล้วจึงสะท้อนไปยังกระจกเงาที่อยู่ด้านบนสุดของเครื่องสะท้อนแสงผ่านไปยังเลนส์ฉายและส่องแสงปรากฏเป็นภาพบนจอรับภาพ การใส่วัสดุฉายในระบบฉายสะท้อน คือ ต้องวางวัสดุฉายตามลักษณะที่เป็นจริงในแนวระนาบบนแท่นวางของเครื่องฉาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น